วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผ่านพ้นเดือนแห่งปีใหม่ไปเรียบร้อย นับจากนี้ไปคงเป็นเรื่องที่อยู่ในช่วงของการเตรียมตัวเปลี่ยนแปลงของนักเรียนมัธยมปลาย (ม.6) สู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ

แนวทางการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2551 นี้ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยน ใด ๆ หากแต่ยังคงหลักเกณฑ์เดิมทุกประการ ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น จะเริ่มใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2553 โดยมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในการคัดเลือกผู้สมัครเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ปลาย) หรือจีพีเอเอ็กซ์ คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต และคะแนนแบบทดสอบความถนัด ซึ่งถือว่าเกณฑ์ที่ใช้ลดความเข้มข้นลงไปจากเดิมพอควร

สำหรับแนวโน้มที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัด คือ รูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเป็นไปในทิศทางที่มหาวิทยาลัย/สถาบันแต่ละแห่งจะดำเนินการรับสมัครนักศึกษาผ่านโครงการต่าง ๆ รับนักศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เนื้อหาหลักสูตรและค่าเล่าเรียนอาจมีความแตกต่างกันไปตามต้นทุนในการผลิตบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย ในขั้นตอนของการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้น โดยส่วนใหญ่หมายมั่นปั้นมือว่าตนเองต้องผ่านการคัดเลือกแน่ ในขณะที่ผู้สมัครอีกกลุ่มอาจเตรียมตัวเตรียมใจหาที่เรียนหรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ไว้สำรอง กันความพลาดหวัง ซึ่งถือเป็นสิ่งดีและพึงกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะได้ไม่ต้องวิ่งรอกหาสถานที่เรียนใหม่ ทั้งนี้อย่างน้อยที่สุดยังมีมหาวิทยาลัยที่รับเข้าเรียนแน่นอน ไม่ต้องปวดหัวหรือเสียเวลา ในการเลือกคณะวิชาในปีการศึกษา 2551 การเลือกคณะวิชาอาจไม่แตกต่างจากปีก่อน ๆ โดยบรรดาคณะวิชา/สถาบันในฝันคงอยู่ในกลุ่ม คณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ นิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมไปถึงคณะนิติศาสตร์หรือคณะรัฐศาสตร์ และจำนวนผู้สมัครคงจะมีปริมาณที่มากเช่นเคย และอัตราการการแข่งขันย่อมอยู่ในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น หากผู้ที่มีคะแนนสอบไม่สูงมาก เมื่อทดสอบกับโปรแกรมคำนวณการสมัครของปีที่ผ่านมา ควรเลี่ยงหรือเลือกคณะวิชา/สถาบันอื่น ๆ รองรับไว้ด้วยน่าจะช่วยได้มาก

การไม่ผ่านคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มิใช่สิ่งที่จะมากำหนดความสำเร็จของชีวิตในอนาคตแท้จริงแต่ประการใด หากแต่ถือเป็นเกมหรือจังหวะหนึ่งของชีวิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่เราก็สามารถเติบโตหรือก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างมากมายเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่า เรากำหนดชีวิต หรือเราเลือกเส้นทางของชีวิตไว้อย่างไร

นอกเหนือจากการสมัครเข้าเรียนผ่านระบบแอดมิสชั่นส์หรือระบบกลาง รวมถึงโครงการพิเศษต่าง ๆ แล้ว ทางเลือกอื่น ๆ อาทิ สถาบันหรือมหาวิทยาลัยเอกชนที่ยังคงเปิดรับนักศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในต่างประเทศที่สามารถเลือกเรียนได้อีกมากเช่นเดียวกัน โดยการไปศึกษาต่อต่างประเทศยังจะเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษาได้ดีอีกด้วย โดยในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาต่างประเทศจำนวนมากเปิดรับนักศึกษา ซึ่งในบางประเทศมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้กับเรา ในขณะที่มาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับที่สูงหรืออาจดีกว่าในบางด้านอีกด้วย ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น อย่าคิดแต่เพียงว่า การผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้นถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว การผ่านการคัดเลือกดังกล่าวถือเป็นเพียงก้าวแรกของความสำเร็จบางด้านหรือบางตอนเท่านั้น ในขณะที่หนทางข้างหน้าที่ต้องเจอะเจอยังมีอีกยาวไกล โดยช่วงเวลา 4 หรือ 5 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก มีข้อดีมากมายสำหรับทุกคนที่มีโอกาสเหล่านั้นที่จะกอบโกยประสบการณ์ทุกอย่างได้ชนิดที่อาจกล่าวได้ว่า มีครบทุกรส ทั้งสุข เศร้า สมหวัง ร้องไห้ ดีใจ ซึ่งถือว่าดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

สำหรับการสอบโอเน็ต มีข้อควรระวังหลายประการ เช่น การกรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล เลขที่นั่งสอบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝนกระดาษคำตอบ แม้แต่การฝนกระดาษคำตอบ หรือการระบายคำตอบ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การเข้าสอบจึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ปรากฏทั้งในกระดาษคำตอบและแบบทดสอบอย่างเคร่งครัด

ในขณะที่หากเกิดข้อสงสัยในการสอบ หรือปัญหาไม่ว่ากรณีใด ๆ การสอบถามจากกรรมการหรือผู้ควบคุมห้องสอบ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำข้อสอบ และช่วยขจัดข้อข้องใจ ช่วยลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่การคิดแก้โจทย์ข้อสอบน่าจะราบรื่นไปด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นมีค่อนข้างบ่อย มาจากการความไม่รู้หรือไม่อ่านคำสั่งที่ปรากฏในแบบทดสอบอย่างละเอียด และผลของความประมาทที่ว่านี้ส่งผลต่อการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา



ขอบคุณข้อมูลจาก " การศึกษาวันนี้ "

องค์ประกอบแอดมิชชั่นใหม่ในปีการศึกษา 2554

ในระบบแอดมิชชั่นปี 2554 ในส่วนของการสอบมีองค์ประกอบ และสัสส่วนที่จะใช้ในแอดมิชชั่นปี 2554 ดังนี้
สายวิทย์
กลุ่มคณะด้านวิทยาศาสตร์
1.1 คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT2 [เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์] 20%

1.2 คณะเภสัชศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 20% , GAT 20% , PAT 2 50%
1.3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 30% , GAT 20% , PAT 2.1 [เคมี] 10% , PAT 2.2 [ชีววิทยา] 20% , PAT 2.3 [ฟิสิกส์] 10%
1.4 คณะสหเวชศาสตร์ [เทคนิคการแพทย์/กายภาพบำบัด/กิจกรรมบำบัด] ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 20% , GAT 10% , PAT1 15% , PAT 2.1 [เคมี] 15% , PAT 2.2 [ชีววิทยา] 15% , PAT2.3 [ฟิสิกส์] 15%
1.5 คณะสาธารณสุขศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 30% , GAT 20% , PAT1 10% , PAT2.1 [เคมี] 10% , PAT2.2 [ชีววิทยา] 10% , PAT 2.3 [ฟิสิกส์] 10%
1.6 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 30% , GAT 20% PAT1 10% , PAT2 30%

กลุ่มคณะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และชีวภาพ
คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 20% , GAT 10% , PAT1 15% , PAT2.1 [เคมี] 15% , PAT2.2 [ชีววิทยา] 15% , PAT2.3 [ฟิสิกส์] 15%


กลุ่มคณะด้านวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 10% , GAT 20% , PAT1 20% , PAT3 40%


กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT4 [ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์] 40%


กลุ่มคณะเกษตรศาสตร์
คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ใช้สัสส่วน GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT1 10% , PAT2 30%

สายศิลป์
กลุ่มคณะบริหารธุรกิจ
คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 40% , GAT 30% , PAT1 20%


กลุ่มคณะการท่องเที่ยว และโรงแรม
คณะการท่องเที่ยว และโรงแรม ใช้สัสส่วน GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 50%


กลุ่มคณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะพลศึกษา และสุขศึกษา ใช้สัสส่วน GPAX 10% , O-NET 30% , GAT 20% , PAT5 [ความถนัดทางวิชาชีพครู] 40%


กลุ่มคณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะดุริยางคศิลป์ คณะนาฏศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ และ คณะศิลปะประยุกต์ ใช้สัสส่วน GPAX 20% , O-NET 20% , GAT 10% , PAT6 [ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์] 50%


กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะสังคมวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์


รูปแบบที่ 1 พื้นฐานวิทยาศาสตร์ GPAX 20% , O-NET 20% , GAT 40% , PAT1 20%

รูปแบบที่ 2 พื้นฐานศิลปศาสตร์ แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ 2.1 GPAX 20% , O-NET 20% , GAT 60% และ 2.2 GPAX 20% , O-NET 20% , GAT 40% , PAT7 [ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ] 20%

หากเอาองค์ประกอบสัสส่วนนี้ไปเทียบกับปี 53 แล้วก็จะเห็นว่ามีหลายอย่างที่ไม่เหมือนกันนะครับ.. ดังนั้นฝากถึงนักเรียน ม.5 ม.4 ลงไปหากจะศึกษาองค์ประกอบต้องศึกษาของใหม่นะครับ ไม่งั้นอาจจะเข้าใจผิดก็เป็นได้ครับ


ที่มาhttp://www.dek-d.com/content/admissions/16959/องค์ประกอบแอดมิชชั่นใหม่-54-สายวิทย์.htmhttp://www.dek-d.com/content/admissions/16980/องค์ประกอบแอดมิชชั่นใหม่-54-สายศิลป์.htm

ไฟเขียวสายครูเพิ่ม PAT เฟ้นว่าที่แม่พิมพ์

ทปอ.เตรียม ประมวลข้อสรุปต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแอดมิชชั่นขึ้นเว็บไซต์ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็น จนถึงสิ้นเดือนนี้ พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดทำฐานข้อมูลกลาง ตรวจสอบรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน ป้องกันการเรียนควบ 2 แห่ง จากกรณีที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน เสนอขอเพิ่มการสอบแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT เพิ่มเติมนอกเหนือจากการสอบ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู ในการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไปนั้น รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่นฟอรั่ม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า การขอสอบ PAT อื่นๆที่มีอยู่แล้ว เช่น PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์, PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ถือว่ายังอยู่ในกรอบที่ ทปอ. วางไว้คือ ต้องใช้องค์ประกอบ 4 ข้อคือ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลายหรือ (GPAX), คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต, คะแนนแบบทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และคะแนนแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ซึ่งเสนอมาได้ แต่ไม่ควรเพิ่มจำนวนมากเกินไป และขอให้เสนอมาอย่างเป็นทางการ เพื่อคณะทำงานฯจะได้พิจารณาต่อไป ซึ่งยังมีเวลาที่จะเสนอได้ เพราะอยู่ในช่วงประชาพิจารณ์ คาดว่าสัปดาห์หน้าจะประมวลข้อสรุปต่างๆขึ้นเว็บไซต์ของ ทปอ. เพื่อรับฟังความเห็นจนถึงสิ้นเดือน ก.ย.นี้

ส่วนกรณีปัญหานักเรียน วิ่งรอกสอบรับตรง เมื่อสอบติดหลายแห่งทำให้ต้องเรียนควบ 2 แห่ง ในที่สุดก็สละสิทธิ์เลือกเรียนที่ใดที่หนึ่ง แต่ส่งผลให้ผู้อื่นเสียสิทธิ์ และหากมหาวิทยาลัยรับตรงมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวก็จะมากขึ้นตามไปด้วยนั้น ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ระบบการรับตรงจะต้องมีกลไกกลางตรวจสอบ โดยตนจะหารือกับ ทปอ. เพื่อให้จัดทำฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆตรวจสอบผลการสอบรับตรงของแต่ละแห่งว่ามีนักเรียน ที่มีรายชื่อซ้ำกันกี่แห่ง ซึ่งนักเรียนจะต้องตัดสินใจก่อนรายงานตัวกับมหาวิทยาลัย ซึ่งหาก ทปอ. ไม่สามารถดำเนินการได้ สกอ. ก็รับที่จะช่วยจัดทำฐานข้อมูลกลางให้ ซึ่ง สกอ. ก็เคยดำเนินการแล้ว กรณีให้มหาวิทยาลัยนำรายชื่อเด็กที่สอบติดรับตรงมาให้ สกอ. เพื่อตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นกลาง อย่างไรก็ตาม กรณีเรียนควบ 2 คณะเป็นเรื่องที่นักเรียนแทบจะทำไม่ได้ เด็กจะต้องเลือกเรียนที่ใดที่หนึ่ง.ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

พร้อมจัดสอบ V-NET

พร้อมจัดสอบ V-NET

สทศ.กำหนดจัดสอบการทดสอบวิชาสามัญตามหลักสูตรอาชีวศึกษา ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 และจะจัดสอบ 6 วิชา ..
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เปิดเผยว่า สทศ.กำหนดจัดสอบการทดสอบวิชาสามัญตามหลักสูตรอาชีวศึกษา หรือ Vocational National Education Test หรือ V-NET โดยจัดการทดสอบนักเรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ส่งรายชื่อนักเรียนให้แก่ สทศ. ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 และจะจัดสอบ 6 วิชาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และสุขศึกษาและพลานามัย โดยกำหนดสอบวันที่ 10 มี.ค.2553 ดังนี้ เวลา 08.30-11.30 น. สอบ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา วิชาละ 1 ชั่วโมง เวลา 13.00-15.30 น. สอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิชาละ 1 ชั่วโมง สุขศึกษาและพลศึกษา สอบ 30 นาที.


ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของ GAT - PAT

ความหมาย
GAT คือ ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ประกอบด้วย- ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา คะแนนเต็ม 150 คะแนน- ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน
**สอบ 3 ชั่วโมง ด้วยข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย**

PAT คือ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test) ประกอบด้วย
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์)
PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ)**สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัยและอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย**
การสมัครสอบ o­nlineวิธีการสมัคร o­nline1) เข้าเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th2) Click ที่ Menu “เข้าระบบ GAT / PAT” หรือเข้าตรงได้ที่ http://www.gatpat.niets.or.th3) Click เลือก Menu “สมัครสอบ” จะมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 : อ่านเงื่อนไขให้เข้าใจ เมื่ออ่านเข้าใจแล้ว กดปุ่ม “ยอมรับเงื่อนไข”ขั้นตอนที่ 2 : กรอกรายละเอียดของผู้สมัครให้สมบูรณ์ครบถ้วนขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล พร้อมยืนยันความถูกต้องขั้นตอนที่ 4 : พิมพ์ใบชำระเงิน แล้วนำไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์(**กรุณาเก็บหลักฐานการชำระเงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสมัคร**)

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การประชุมพัฒนาวิชาการ บัวเชดวิทยา

โครงการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางยกระดับคุณภาพการศึกษา
ตามกรอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนกลุ่มกลาง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต 3
8 สิงหาคม 2552
ณ โรงเรียนบัวเชดวิทยา





















วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552